วิทยาการคอมพิวเตอร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

1. พื้นฐานการเขียนโปรแกรม Google App Script

1.1 Google Apps Script แบบ Embed Script และ Stand alone

     โปรเจ็ค Google Apps Script มี 2 ประเภท ก็คือ แบบ Embed script (แบบฝังอยู่ในไฟล์) และ แบบ Stand alone (แบบไฟล์คำสั่งเดี่ยว)

 Embed script (แบบฝังอยู่ในไฟล์)

    ขณะทำงานอยู่กับไฟล์ Google Apps เช่น Google Sheet, Google Docs หรือ Google Slide เป็นต้น เราสามารถสร้างโปรเจ็ค Google Apps Script ได้
โดยการ ไปที่เมนู Extensions -> Apps Script ตามภาพ

จะปรากฏหน้าเว็บสำหรับเขียนโค๊ด ซึ่งเราเรียกว่า

โปรเจ็ค Google Apps Script ตามภาพ

Google Apps Script แบบฝังอยู่ในไฟล์ Google Apps จะมองไม่เห็นไฟล์ปรากฏอยู่ใน Google Drive เพราะฝังรวมอยู่กับไฟล์ Google Apps ที่เราสร้าง

(เมื่อมีการแชร์หรือคัดลอกไฟล์นั้น Google Apps Script จะถูกคัดลอกและฝังไปด้วย)

Stand alone (แบบไฟล์คำสั่งเดี่ยว)

เราสามารถสร้าง Google Apps Script แบบ Stand alone ได้ที่ Google Drive

โดยเมื่อต้องการสรร้างให้ไปที่ +New -> more -> Google Apps Script

    *หมายเหตุ : หากเมนู +New -> more -> Google Apps Script ไม่มี ให้เลือก Connection more apps เพื่อเปิดการใช้งาน Google Apps Script

1.2 การเขียนโค๊ดและรันโค๊ด

     เมื่อสร้างโปรเจ็ค Google Apps Script มาแล้ว ให้เรามาเริ่มต้น เขียนโค๊ดแรกมาก่อน เพื่อทำความเข้าใจกับระบบโดยรวมก่อน

► โค๊ดแรก

     เขียนโค๊ดดังต่อไปนี้

     ตอนพิมพ์ Logger ตามด้วย . (จุด) จะปรากฏ Trigger Suggest ซึ่งเป็นรายการของเมธอด หรือ Properties ของคลาส logger ให้เลือก ก็ช่วยให้เราเขียนโปรแกรมเขียนโค๊ดง่ายขึ้น

คอมเม้นต์

     คอมเม้นต์ ก็คือ บรรทัดของโค๊ดที่เราไม่ต้องการให้รัน แต่มีไว้สำหรับให้ผู้เขียนโค๊ดเขียนอธิบาย

ใช้เครื่องหมาย  //  คอมเม้นต์  เพื่อมาร์คว่า บรรทัดนี้เป็นคอมเม้นต์

ใช้เครื่องหมาย  /*  คอมเม้นต์  */  เพื่อมาร์คว่าภายในบล็อคเป็นคอมเม้นต์

► คีย์ลัด

<F1>  🟰 ดูคำสั่งทั้งหมด (Command pallete)

<Ctrl></>  🟰 ใส่หรือเอาออก เครื่องหมาย // หน้าบรรทัด เพื่อทำคอมเม้นต์

<Ctrl><Space>  🟰 เปิด Trigger Suggestion เพื่อดูรายการ Service/Method/Properties ...

<Tab> / <Ctrl><[>  🟰 เพิ่มย่อหน้าให้กับบรรทัด (Indent Line)

<Shift><Tab> / <Ctrl><]>  🟰 ล่นย่อหน้าให้กับบรรทัด (Outdent Line)


<Enter>  🟰 ขึ้นบรรทัดใหม่

<Ctrl><Shift><Enter>  🟰 เพิ่มบรรทัดใหม่ไว้ก่อนหน้าบรรทัดปัจจุบัน


<F2>  🟰 เปลี่ยนชื่อ Symbol ทั้งหมด - ( Symbol หมายถึงตัวแปร, ชื่อฟังก์ชันที่เราตั้งเอง เป็นต้น

<Ctrl><F2>  🟰 เพิ่มเคอร์เซอร์ ณ ตำแหน่งที่พบทั้งหมด (Change all occurences)


<Ctrl><D>  🟰 เพิ่มเคอร์เซอร์ ณ ตำแหน่งที่พบ ตัวถัดไป (Add selection to next find match)

<Alt><Shift + <Down>/<Up>  🟰 เพิ่มเคอร์เซอร์ ณ บรรทัดล่าง/บน

<Ctrl><U>  🟰 ยกเลิกเคอร์เซอร์ (ทีละอันที่พึ่งสร้างไป)


<Alt>+<Down>/<Up>  🟰 ย้ายโค๊ดไปบรรทัดล่าง/บน

<Ctrl><Shift>+<Left>/<Right>  🟰 เลือกทั้งคำ ไปทางด้านซ้าย/ด้านขวา

<F1> ➡️ <Editor Font Zoom In>  🟰 ซูมเข้า (ตัวอักษรใหญ่ขึ้น)

<F1> ➡️ <Editor Font Zoom Out>  🟰 ซูมออก (ตัวอักษรเล็กลง)

<F1> ➡️ <Editor Font Zoom Reset>  🟰 รีเซ็ตการซูม


<Ctrl><F>  🟰 ค้นหา

<Ctrl><H>  🟰 ค้นหาและแทนที่


<Ctrl><Shift>+<[>  🟰 ม้วนบรรทัดของโค๊ดเก็บ (ซ่อนโค๊ดในบล็อค)

<Ctrl><Shift>+<]>  🟰 คลี่บรรทัดของโค๊ดเก็บ (แสดงโค๊ดในบล็อค)


<Ctrl><Shift><O>  🟰 เปิดหน้าต่างเพื่อเลือกโดดไปยัง Symbol ที่ต้องการเช่น ตัวแปร, ฟังก์ชัน

<Ctrl><Shift><I>  🟰 จัดรูปแบบเอกสารทั้งหมด (Format document)

<Ctrl>+<Down>/<Up>  🟰 เลื่อนหน้าจอ 1 บรรทัด (เคอร์เซอร์ไม่ขยับ)

<Ctrl><Shift>+<K>  🟰 ลบทั้งบรรทัด

<Ctrl><Shift>+<\>  🟰 โดดไปยังไปวงเล็บที่เป็นคู่กัน สลับไปมา

► รันโค๊ด

     โค๊ดถูกเขียนอยู่ในบล็อคฟังก์ชัน เวลารันโค๊ดเราจะรันที่ฟังก์ชันซึ่งสามารรันได้ดังนี้